วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่  4
วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ความรู้ที่ได้รับวันนี้
  • วันนี้เริ่มกิจกรรมด้วยการเล่นเกมที่เกี่ยวกับการสื่อสาร ทำให้เรารู้ว่าการสื่อนั้นมีหลายอย่างมากในชีวิตประจำวัน






รูปแบบของการสื่อสาร
•รูปแบบการสื่อสารของอริสโตเติล (Aristotle’s Model of Communication)
•รูปแบบการสื่อสารของลาล์สเวล (Lasswell’s Model of Communication)
•รูปแบบการสื่อสารของแชนนอนและวีเวอร์ (Shannon & Weaver’s Model of Communication)
•รูปแบบการสื่อสารของออสกูดและชแรมม์ (C.E Osgood and Willbur Schramm’s )
•รูปแบบการสื่อสารของเบอร์โล (Berlo’s Model of Communication)
องค์ประกอบของการสื่อสาร
1. ผู้ส่งข่าวสาร (Sender)
2. ข้อมูลข่าวสาร (Message)
3. สื่อในช่องทางการสื่อสาร (Media)
4. ผู้รับข่าวสาร (Receivers)
5. ความเข้าใจและการตอบสนอง

ประเภทของการสื่อสาร
การจำแนกที่สำคัญ 3 ประการ คือ
  1. จำแนกตามกระบวนการหรือการไหลของข่าวสาร
  2. จำแนกตามภาษาสัญลักษณ์ที่แสดงออก

  3. จำแนกตามจำนวนผู้สื่อสาร 

สรุป
การสื่อสารที่ดีและมีประสิทธิภาพนับเป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้งานการให้ความรู้ผู้ปกครองประสบผลสำเร็จ ผู้ที่เป็นครูจะต้องทำความเข้าใจเรื่องการสื่อสารให้กระจ่างชัดเจน ประกอบกับการศึกษาธรรมชาติและการเรียนรู้ของผู้ปกครอง พฤติกรรมการเรียนรู้ เพื่อที่จะได้ทำการให้ความรู้ให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองได้ดีมีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อให้ผู้ปกครองเกิดความศรัทธา เชื่อมั่นและมีความอบอุ่นว่าสถานศึกษาจะมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นก็ต้องได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครอง บ้านโรงเรียน ชุมชนและสังคมเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาเด็กร่วมกัน
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  • สามารถนำรูปเเบการสื่อไปใช้กับผู้ปกครองที่มีควมต้องการพิเศษได้

ประเมินตนเอง
  • เข้าใจเกี่ยวกับรูปแบการสื่อสารมากขึ้น ตั้งใจเรียน
ประเมินเพื่อน
  • เพื่อนตั้งใจเรียน แอบง่วงนอนนิดหนึ่ง
ประเมินอาจารย์
  • อาจารย์พูดเกี่ยวกับเนื้อหาได้ชัดเจน กะทัดรัด ง่ายๆ

คำถามท้ายบท


1.จงอธิบายความหมายและความสำคัญของการสื่อสารมาโดยสังเขป
- การสื่อสาร  (Communication) คือ กระบวน การส่งข่าวสาร ข้อมูล จาก   ผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกิริยาตอบสนองกลับมา โดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ 
1.ทำให้ได้รับรู้และเข้าใจถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม
2.ทำให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันทั้ง 2 ฝ่าย
3.ทำให้สร้างมิตรภาพที่อบอุ่น
4.ทำให้เกิดภาพแห่งความพึงพอใจ
5.ช่วยในการพัฒนาอัตมโนทัศน์ เป็นการสร้างความรู้สึกที่ดีต่อตนเองก่อให้เกิดความพอใจในชีวิต
2.การสื่อสารมีความสำคัญกับผู้ปกครองอย่างไร
    - 1.เพื่อแจ้งให้ทราบ คือ การรับและส่งข่าวสารด้านต่างๆ การนำเสนอเรื่องราว ความรู้สึกนึกคิด ความรู้ หรือสิ่งอื่นใด ที่ต้องการให้ผู้รับสารรู้และเข้าใจข้อมูลนั้นๆ โดยมุ่งให้ความรู้และสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง
2. เพื่อความบันเทิงใจ คือ การรับส่งความรู้สึกที่ดี และมุ่งรักษามิตรภาพต่อกัน เป็นการนำเสนอเรื่องราวหรือสิ่งอื่นใดที่จะทำให้ผู้รับสารเกิดความพึงพอใจ
3. เพื่อชักจูงใจ คือ การนำเสนอเรื่องราวหรือสิ่งอื่นใดเพื่อจูงใจให้เกิดความร่วมมือ สร้างกำลังใจ เพื่อให้ผู้รับสารเกิดความคิดคล้อยตาม หรือปฏิบัติตาม    ที่ผู้ส่งสารต้องการ และนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไข  
3.รูปแบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในการให้ความรู้ผู้ปกครอง ควรเป็นรูปแบบใด จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
            - รูปแบบการสื่อสารของอริสโตเติล เพราผู้ปกครองต้องการเเค่ ผู้พูด คำพูด ผู้ฟัง เเค่นี้ก็จะทำให้รู้ข่าวได้อย่างครบถ้วนเเล้ว
4.ธรรมชาติและการเรียนรู้ของผู้ปกครองควรมีลักษณะอย่างไร
                • เรียนรู้ได้ดีในเรื่องของการพัฒนาเด็ก
     •เรียนรู้ได้ดีในสภาพแวดล้อมที่มีความสมานฉันท์
•มีความแปลกใหม่และมีประโยชน์ต่อเด็ก
•เรียนรู้ได้ดีจากการฝึกปฏิบัติ
•เรียนรู้ได้ดีในบรรยากาศที่เป็นวิชาการน้อยที่สุด
•ควรได้รับความต่อเนื่องในการเรียนรู้ทีละขั้นตอน
•เรียนรู้ได้ดีจากสื่อและอุปกรณ์ที่หลากหลาย
5.ปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนพฤติกรรมการเรียนรู้สำหรับผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้ปกครองมีความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาของเด็ก ประกอบด้วยปัจจัยด้านใดบ้าง

วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่  3
วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2559


**ไม่มีการเรียนการสอน เนื่อจากอาจารย์ประชุม**

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่  2
วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ความรู้ที่ได้รับวันนี้


  • อาจารย์เเจกใบตัวปั้ม


  • หลักการเบี้องต้นในการให้ศึกษาเเก่ผู้ปกครองของเด็กปฐมวัย
  • สรุป การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง หมายถึง การให้ความรู้เกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็ก เพราะเด็กอยู่ในความรับผิดชอบของสถาบันครอบครัว การให้ความรู้แก่ผู้ปกครองถือเป็นกระบวนการทางสังคม ซึ่งสังคมมีหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ให้แก่บุคคลภายในสังคมให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในสังคม ทั้งในและนอกระบบ การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองจึงเป็นการช่วยเหลือพ่อแม่ ผู้ปกครอง ตลอดจนผู้ที่เตรียมตัวจะเป็นพ่อแม่ให้ได้เรียนรู้ถึงวิธีการในการดูแล อบรมเลี้ยงดู และให้การศึกษาแก่เด็ก เพื่อให้เด็กเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพและได้รับประสบการณ์ที่มีคุณค่า เพื่อการพัฒนาตนต่อไปในอนาคต
  •  การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองเป็นสิ่งสำคัญที่มีต่อการศึกษาเด็กปฐมวัย สรุปได้ดังนี้
        1. เป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาของเด็ก
        2. เป็นการให้ผู้ปกครองได้เข้าใจถึงบทบาทและหน้าที่ของตนเองที่มีต่อการศึกษาของเด็ก
        3. ทำให้ลดความขัดแย้งในการดำเนินงานทางการศึกษา ช่วยให้การศึกษาเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
      4. เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้มีส่วนสนับสนุนและพัฒนาการศึกษาของเด็ก
        5. ช่วยทำให้สถาบันครอบครัวมีความแข็งแรง
  • การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองโดยสรุปมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
        1. เพื่อให้เข้าใจถึงวิธีการในการอบรมเลี้ยงดูเด็กและให้การศึกษาแก่เด็ก
        2. เพื่อให้ความรู้และวิธีการในการส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ให้แก่เด็ก
        3. เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวการศึกษาของเด็กที่โรงเรียนเพื่อให้ที่บ้านเข้าใจตรงกัน
        4. เพื่อส่งเสริมให้ผู้ปกครองได้ตระหนักถึงบทบาทของตนเองในการมีส่วนร่วมส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ให้แก่บุตรหลาน
        5. เพื่อให้ผู้ปกครองได้รับรู้และเข้ามามีบทบาทในการจัดการศึกษาให้แก่บุตรหลาน
  • รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองสามารถกระทำได้ด้วยวิธีการดังนี้                                               - การให้ความรู้แบบทางการ (formal)  เช่น การบรรยาย  การอภิปราย การโต้วาที ฯลฯ
              - การให้ความรู้แบบไม่เป็นทางการ (informal) เช่น การระดมสมอง การประชุมโต๊ะกลม การประชุมกลุ่มย่อย
  • สรุปออกเป็นลักษณะของฐานการเรียนรู้เป็น 3 รูปแบบ ดังนี้
        1. การใช้บ้านเป็นฐานในการเรียนรู้ (home base) เป็นการจัดกิจกรรมให้ความรู้กับผู้ปกครองถึงที่บ้าน เช่น การเยี่ยมบ้าน การส่งจดหมาย เอกสารถึงบ้าน การจัดทำโฮมสคูล (Home School)
        2. การใช้โรงเรียนเป็นฐานในการเรียนรู้ (school base) เป็นการจัดกิจกรรมความรู้ให้ผู้ปกครองที่โรงเรียน เช่น การจัดแสดงผลงานเด็ก    การประชุม การจัดสัมมนา การจัดนิทรรศการ การจัดมุมผู้ปกครอง 3. การใช้ชุมชนเป็นฐานในการเรียนรู้ (community vase) เป็นการเผยแพร่ความรู้ผ่านชุมชน เช่น หมู่บ้าน วัด โบสถ์ มัสยิด วิทยุ โทรทัศน์ ระบบอินเตอร์เน็ต วารสาร นิตยสาร สื่อสิ่งพิมพ์ ฯลฯ ซึ่งกิจกรรมที่จัดโดยผ่านชุมชนประเภทต่างๆ พ่อแม่ ผู้ปกครองสามารถเลือกเรียนรู้ได้ตามความสนใจที่สอดคล้องกับสภาพทางครอบครัว สังคม และวัฒนธรรมของตนเอง นับเป็นแนวทางให้ความรู้ที่เหมาะสมกับผู้ปกครองในสังคมยุคปัจจุบันมากขึ้น
  • แนวปฏิบัติของสถานศึกษา การจัดกิจกรรมการให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง สถานศึกษาถือเป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้ผู้ปกครองได้ประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้ ดังนั้นสถานศึกษาควรมีแนวปฏิบัติดังนี้
      1. รับฟังความคิดเห็นและความรู้สึกที่ผู้ปกครองมีกับลูก
      2. ขณะที่พูดคุยกับผู้ปกครองเด็ก ไม่ใช้เป็นการพูดถึงเด็กในทางที่ไม่ดีเท่านั้น แต่ควรพูดถึงในสิ่งที่ดีที่เด็กสามารถพัฒนาขึ้นมาก
      3. ควรหลีกเลี่ยงคำอธิบายหรือใช้คำศัพท์ทางวิชาการในการอธิบายพูดคุยกับพ่อแม่ ผู้ปกครอง
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  • สามารถการอธิบายพูดคุยกับพ่อแม่ ผู้ปกครอง ให้เข้าใจในตัวเด็กมากขึ้น เพื่อที่จะได้ช่วยในการพัฒนาเด็กให้สัมพันธ์กันกับครู
ประเมินตนเอง 
  • ตั้งใจฟังอาจารย์ 
ประเมินเพื่อน 
  • เพื่อนก็น่ารัก ตั้งใจฟังอาจารย์
ประเมินอาจารย์
  • พูดเพราะ สอนเขาใจง่าย 




บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่  1
วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ความรู้ที่ได้รับวันนี้
  • ผู้ปกครอง หมายถึง ผู้ที่เป็นบิดา มารดา หรือบุคคลอื่นที่ให้การอบรมเลี้ยงดูให้การศึกษาแก่เด็กที่อยู่ในการดูแล ดังนั้นในการกล่าวถึงผู้ปกครองจึงมีความหมายรวมถึงบุคคลที่เป็นพ่อและแม่ด้วย
  • ความสำคัญของผู้ปกครองดังกล่าวจะเห็นได้ว่า ผู้ปกครองมีความสำคัญซึ่งมีความใกล้ชิดกับเด็ก เป็นผู้ที่มีความหมายต่อชีวิตเด็กทั้งการเจริญเติบโตทางร่างกายและจิตใจเป็นผู้ที่เด็กมอบความรักด้วยความบริสุทธิ์ใจ ผู้ปกครองจึงเป็นผู้นำที่จะช่วยให้เด็กเจริญเติบโต มีพัฒนาการที่เหมาะสม เพื่อการก้าวสู่โลกกว้างได้อย่างมั่นคงและมีความพร้อมในทุกด้าน จึงถือว่าผู้ปกครองเป็นผู้เสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้วยความรัก ความเข้าใจให้แก่เด็กตั้งแต่เยาว์วัยเป็นรากฐานอนาคตของสังคมให้มีความสมบูรณ์และแข็งแรง
  • บทบาทหน้าที่ด้านการเลี้ยงดู ภารกิจของพ่อแม่ ผู้ปกครอง คือ การอบรมเลี้ยงดูและพัฒนาเด็กที่ครอบคลุมพัฒนาการทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคมและสติปัญญา บทบาทของพ่อแม่ในการเลี้ยงดูเด็กมี 3 ประการ คือ
      1.  เป็นผู้ให้การเลี้ยงดูเพื่อสร้างเสริมสุขภาพกายและใจที่ดีให้กับเด็ก
      2.  เป็นผู้ให้การศึกษาเบื้องต้น
      3.  เป็นผู้ส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคมและสติปัญญา
  • สรุปบทบาทหน้าที่ของผู้ปกครอง 10ประการ                                                                        1.  ให้ความรักและสายสัมพันธ์ในครอบครัว
      2.  ให้ความเอาใจใส่และเอื้ออาทรต่อลูก
      3.  ทำตนให้เป็นแบบที่ดีแก่ลูก
      4.  ให้ประสบการณ์การเรียนรู้ในสังคมเกี่ยวกับการปฏิบัติตน
      5.  ส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ให้เป็นไปตามวัย
      6.  ให้หลักธรรมในการพัฒนาเด็กด้วยหลักไตรสิกขา (ศีล สมาธิ ปัญญา)
      7.  ส่งเสริมพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ โดยผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย
      8.  ศึกษาการเจริญเติบโตของเด็ก
      9.  เอาใจใส่ดูแลสุขภาพ
      10. สนับสนุนเตรียมความพร้อมก่อนสู่สังคม
  • บทสรุป
     
    ผู้ปกครอง หมายถึง ผู้ที่เป็นบิดา มารดา หรือบุคคลอื่นซึ่งทำหน้าที่ในการอบรมเลี้ยงดูเพื่อให้เด็กมีชีวิตที่สมบูรณ์ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคมและสติปัญญา สามารถเรียนรู้และปรับตัวเข้ากับสังคมได้อย่างมีความสุข บทบาทและหน้าที่ของผู้ที่เป็นผู้ปกครองเด็กปฐมวัยถือเป็นผู้ที่มีความสำคัญยิ่งต่อการสร้างรากฐานของชีวิตในอนาคตกับเด็ก ดังนั้นผู้ปกครองจึงต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับเด็กได้แก่ การอบรมเลี้ยงดูการส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ และการส่งเสริมการศึกษา การที่ผู้ปกครองตระหนักถึงความสำคัญของบทบาทและหน้าที่ของตนเองในการพัฒนาเด็ก ย่อมเป็นการทำให้ผู้ปกครองจำเป็นต้องแสวงหาองค์ความรู้ที่จำเป็นเพื่อนำมาปฏิบัติใช้ในการอบรมเลี้ยงดูเด็กในด้านต่างๆ    

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  • เข้าใจคำว่าผู้ปกครองมากขึ้น รู้จักหน้าที่ บทบาทของผู้ปกครอง จะนำไปใช้เมื่อเป็นเจอผู้ปกครองของเด็ก
 ประเมินตนเอง 
  • เปิดเทอมวันเเรกดีใจมากที่ได้เจอเพื่อน อาจาย์ เเถมยังได้เรียนกับเพื่อนอีก 2 เชค เเรกก็เกร็งเเต่เมื่อพอได้เรียนด้วยกันก็ค่อยๆปรับตัว
ประเมินเพื่อน 
  • เพื่อนก็น่ารัก ตั้งใจฟังอาจารย์
ประเมินอาจารย์
  • พูดเพราะ สอนเขาใจง่าย เเต่ง่วงนอนเพราะเรียนบ่าย